การเขียนพู่กันจีน 書法



書法(ซูฝ่า)การเขียนพู่กันจีนมีประวัติความเป็นมายาวนานคู่กัประเทศจีน ถือเป็นศิลปะขั้นสูงหนึ่งในสี่อย่างของชนชาติจีน คือ การเขียนพู่กันจีน การวาดภาพ การบรรเลงเครื่องสาย และการเล่นหมากรุกจีน นอกจากประเทศจีนแล้ว การเขียนพู่กันจีนยังเป็นที่นิยมในหมู่ชาวเอเชียอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลี เวียตนามและสิงคโปร์ ผู้ที่จะเรียนพู่กันจีนควรมีพื้นความรู้ภาษาจีน เพื่อที่จะรู้วิธีเขียนองค์ประกอบอักษรแต่ละตัวตามลำดับให้เป็น การเขียนพู่กันจีนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ไม่เพียงสื่อสารความคิดของผู้เขียน ยังแสดงถึงลักษณะเส้นสายที่มีจังหวะการเขียนและองค์ประกอบของตัวหนังสือที่งดงาม บ่งบอกถึงลักษณะนิสัยของเจ้าของลายมือ และเป็นการฝึกสมาธิที่ดีอย่างหนึ่งอีกด้วย
การเขียนพู่กันจีนเป็นศิลปะอันงดงามที่สืบทอดมาแต่โบราณของจีน ศิลปะการเขียนลายเส้นชนิดนี้ใช้พู่กันเป็นอุปกรณ์ในการเขียนออกมาเป็นตัวอักษรจีน มีกำเนิดในสมัยราชวงศ์ซางเมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว ศิลปะชนิดนี้ไม่เพียงแต่มีคุณค่าด้านการใช้งานที่กว้างขวาง ขณะเดียวกันยังมีคุณค่าด้านความงามที่ไม่ด้อยไปกว่าศิลปะแขนงอื่น ศิลปะการเขียนพู่กันจีนมีลายเส้นและเค้าโครงที่เรียบง่าย แต่กลับสามารถสะท้อนให้เห็นความคิดอันซับซ้อนและหลากหลายของผู้เขียน ทั้งยังทำให้ผู้ชมได้สัมผัสและดื่มด่ำกับความงามอันเรียบง่ายด้วยศิลปะแขนงนี้ สะท้อนให้เห็นกฎเกณฑ์พื้นฐาน “เอกภาพแห่งความแตกต่าง”ของสรรพสิ่ง และยังสะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาน อุปนิสัยการเรียนรู้และการเพาะบ่มทางจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของมนุษย์อีกด้วย
แบบตัวอักษรที่ใช้เขียนพู่กันจีน มี5แบบคือ
  
1.             จ้วนซู กำหนดรูปแบบขึ้นมาในสมัยราชวงศ์เฉิน เป็นแบบที่เก่าที่สุดเป็นอักษรที่เน้นความสวยงามและยังใช้ฝึกเขียนจนทุกวันนี้ ตราประทับมักแกะสลักด้วยตัวหนังสือประเภทนี้  
                                                 จ้วนซู       

  
  
   2.   ลี่ซู นิยมเขียนกันมากในสมัยราชวงศ์ฮั่นตัหนังสือจะออกแป้น ๆ การเขียนเน้นที่การลากหางเป็นเส้นหนา ปัจจุบันใช้ในเรื่องที่เป็นราชการ งานตกแต่งหรืองานศิลปะ
   ลี่ซู                



       
  
  3.        เฉ่าซู ลักษณะตัวหนังสือแบบหวัด คำว่า เฉ่า มีหลายความหมาย แปลว่า หญ้า รีบร้อน เร่งด่วน ลวก ๆ เราจะเขียนเป็นศิลปะเรียกว่า ตัวหวัด
  
            เฉ่าซู    
4. สิงซูลักษณะตัวหนังสือหวัดแกมบรรจง                 
     
  สิงซู                
              
 5.          ข่ายซู ลักษณะตัวหนังสือเป็นลายมือมาตรฐานธรรมดาเรียกว่า ตัวบรรจง
                     
 ข่ายซู  
ชนิดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนพู่กันจีน
               อุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนพู่กันจีน เรียกว่า “เหวินฝางซื่อป่าว” wénfángsìbǎoหรือรัตนะทั้งสี่ในห้องหนังสือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวจีน"เหวินฝาง"wénfáng ก็คือ"ซูฝาง"shūfáng หรือห้องหนังสือ ชาวจีนสมัยโบราณเรียกอุปกรณ์เครื่องเขียนที่ใช้ในห้องหนังสือสี่ชนิด ได้แก่ พู่กัน หมึก กระดาษและที่ฝนหมึกว่า "เหวินฝางซื่อป่าว"(ศิลปะการเขียนพู่กันจีนและรัตนะทั้งสี่ในห้องหนังสือ,ออนไลน์,7 ตุลาคม 2553. การเขียนตัวอักษรจีน 2,ออนไลน์, 20 ตุลาคม 2553)
 1. "ปี่" bǐ ก็คือ "เหมาปี่" máobǐ (พู่กัน) เป็นเครื่องเขียนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของจีน พู่กันมีขนาดต่าง ๆ ส่วนมากด้ามใช้ไม้ไผ่ ถ้าจะประดิษฐ์เป็นของศิลปะก็ใช้หิน ใช้หยก ส่วนที่สำคัญคือส่วนพู่ของพู่กันนิยมใช้ขนต่าง ๆ กันแล้วแต่ความสะดวก ขนาดต่าง ๆ กัน มีขนแกะ ขนกระต่าย ขนของอีเห็น ขนสุนัขป่า พู่กันที่ราคาแพงเขียนได้ละเอียด ทำด้วยขนในหูสุนัขป่า ปัจจุบันอาจใช้วัสดุสังเคราะห์  เนื่องจากทำจากขนสัตว์ต่าง ๆ จึงเรียกเครื่องเขียนชนิดนี้ว่า "เหมาปี่" หรือเครื่องเขียนที่ทำจากขนสัตว์ ในสมัยชุนชิวก็มีการประดิษฐ์ "เหมาปี่" ขึ้นใช้แล้ว
2. "ม่อ" mò หมายถึงหมึกสีดำที่ใช้ในการเขียนหนังสือหรือวาดภาพ ส่วนใหญ่ทำจากเขม่าควันที่เกิดจากการเผาไม้สน และน้ำมันผสมปั้นให้มีลักษณะเป็นก้อนเป็นแท่ง สำหรับฝนกับที่ฝนหมึก โดยเหยาะน้ำใส่ในแท่นฝนหมึก ปัจจุบันคนชอบใช้หมึกใส่ขวดพลาสติกนำมาเทใส่แท่นฝนหมึก ไม่ต้องเสียเวลามานั่งฝนหมึก
3. "จื่อ" zhǐ หรือกระดาษ กระดาษเป็นหนึ่งในสี่สิ่งประดิษฐ์สำคัญของจีนโบราณ ภายหลังสมัยราชวงศ์ถังและซ่ง ได้มีการผลิต "เซวียนจื่อ" xuānzhǐ ซึ่งเป็นกระดาษที่มีคุณภาพสูงขึ้น เซวียนจื่อ มีคุณสมบัติพิเศษคือ สีกระดาษขาวสะอาด เนื้อกระดาษละเอียด นุ่มและเบา กระจายน้ำหมึกได้สม่ำเสมอและชัดเจน ไม่เปื่อยยุ่ยง่าย กระดาษก็มีหลายลักษณะ ส่วนมากทำด้วยเยื่อของพืชต่าง ๆ ข้อสำคัญไม่ใช่กระดาษแบบที่เราใช้ เขียนทั่วไป
4."เยี่ยน"yànหรือแท่นฝนหมึกมีความเป็นมายาวนานถึง 5,000 ปี พบครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น จากนั้น "เยี่ยน" ก็ค่อยๆ เข้ามามีบทบาทในศิลปะการเขียนตัวอักษรจีนและการวาดภาพแบบโบราณ มักจะใช้หินเนื้อละเอียดในการทำแท่นฝนหมึก นิยมแกะเป็นลวดลายที่สวยงามต่าง ๆ หรือประดิษฐ์เป็นรูปร่าง แต่งนิดหน่อย เหมือนเป็นศิลปะของมันเอง ที่มีชื่อเสียงมากแหล่งหนึ่งอยู่แถวเมืองกวางตุ้ง (กวางโจว)
นอกจากรัตนะทั้งสี่ ยังมีของประกอบที่สำคัญได้แก่ ตราประทับชื่อ (ใช้ประทับตราประจำตัวเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของผลงานการเขียน) คนจีนไม่นิยมเซ็นชื่อ มักใช้ตราประทับ ไม่ใช้หมึกstamp แบบปัจจุบัน แต่ใช้ชาดสีแดง ตัวตราเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ใช้หินหยกแกะตรา ตัวอักษรนิยมใช้จ้วนซู และยังมีอุปกรณ์เสริมที่ควรใช้ในการเขียนพู่กันจีนเพิ่มเติม ได้แก่ ภาชนะใส่น้ำ หินทับกระดาษ ที่แขวนพู่กัน กระบอกใส่พู่กัน
ขั้นตอน/วิธีการเขียนพู่กันจีน
                การเขียนพู่กันจีนเป็นศิลปะอันงดงามที่สืบทอดมาแต่โบราณ มีกฎเกณฑ์พื้นฐาน และวิธีการ ดังนี้
1.             ลักษณะการนั่งและยืนที่ถูกต้อง ท่วงท่าที่นั่งและยืนต้องอยู่ในลักษณะหลังตรง ไหล่กางอย่างสง่าผ่าเผย ดังภาพ 
                              
2.             วิธีการจับพู่กัน การจับพู่กันจีน ต้องเรียนรู้การจับอย่างถูกต้อง ให้จับด้ามพู่กันให้แน่น
โดยวางนิ้วหัวแม่มือของคุณไปทางด้านซ้ายของพู่กันจีน นิ้วชี้และนิ้วกลางอยู่ทางด้านขวา การทำเช่นนี้ทำให้จับพู่กันได้มั่นคงโดยสามนิ้วนี้เป็นนิ้วหลัก   ส่วนนิ้วนางและนิ้วก้อยอยู่ด้านล่าง ช่วยในการประคองพู่กัน การจับพู่กันจับช่วงกลางด้าม ทำให้ด้ามพู่กันอยู่ในแนวตั้งกับกระดาษ ดูภาพประกอบ 
     
 
  
3.             วิธีการฝนหมึก โดยหยดน้ำเปล่าใส่ลงในถาดฝนหมึก และใช้แท่งหมึกฝนจนมีความ
เข้มข้นเป็นน้ำหมึกสีดำ ไม่ควรใส่น้ำมากเพราะน้ำหมึกจะใสไม่ดำสนิท (ปัจจุบันมีการใช้หมึกแบบขวดสำเร็จรูป)
 
 
4.             การเขียนตัวอักษรจีน การฝึกเขียน ควรได้เตรียมการตามขั้นตอนที่ 1 - 3 และเริ่มการฝึก
เขียนโดยใช้กระดาษที่มีตาราง จะสามารถกำหนดระยะให้ตัวหนังสืออยู่ตรงกลางของช่องได้ง่าย
  
  
 
 
ตัวอักษรจีนเป็นรูปแบบตัวอักษรภาพโดยพื้นฐาน แสดงความหมายโดยถือตัวอักษรที่เขียนตามรูปของสิ่งของต่างๆเป็นพื้นฐาน (ความเป็นมาและวิวัฒนาการของตัวอักษรจีน,ออนไลน์, 8 ตุลาคม 2553) การเขียนตัวอักษรจีน เป็นศิลปะที่คนจีนชื่นชมมาก และถือว่าเป็นศิลปะชั้นสูง การเขียนพู่กันจีนที่เรียกว่า  ซูฝ่า นั้นฝรั่งเรียกว่า calligraphy ที่จริงแล้ว calligraphy หรือการเขียนตัวอักษรก็มีอยู่ในทุกประเทศ แต่ของจีนเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสำคัญมาก อาจเป็นเพราะจีนเขียนตัวหนังสือแบบที่ไม่ได้เป็นระบบอักขรวิธี ไม่ได้มีตัวสระ พยัญชนะ เหมือนภาษาไทย ภาษาอังกฤษมาประสมกัน แต่จะเขียนเป็นรูป แทนสิ่งที่กล่าวถึง และจะมีการผสมของเส้นต่าง ๆ เข้ามาในรูป การเขียนภาษาจีนมีความยาก เพราะไม่สามารถสะกดคำได้ แต่จะต้องจำเป็นตัว ๆ การที่ภาษาจีนเขียนตัวอักษรเช่นนี้อยู่หลายพันปี พู่กันซึ่งเป็นเครื่องมือในการเขียนก็ไม่เหมือนเครื่องมืออย่างอื่น เขียนแล้วไม่แข็ง จะมีความอ่อนนุ่ม และสัมพันธ์กับมือที่จะกดหนักกดเบา มีความรู้สึกจากจิตใจ จากสมอง จนถึงที่มือ เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องของศิลปะมากกว่าการเขียนหนังสืออื่น ๆ ทั่วไป เวลาฝึกต้องฝึกตั้งแต่ข้อศอก หัวไหล่ ฝึกกล้ามเนื้อ ข้อมือ
          โครงสร้างตัวอักษรจีนมีลักษณะ เป็นวงกลม สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม แต่ละตัวมีจำนวนขีดและจุดที่แน่นอน ในการฝึกเขียนพู่กันจีนต้องเริ่มฝึกด้วยการลอกจากแบบตัวหนังสือทีละตัว ทีละขีดให้แม่นยำ และจะเขียนให้เก่งก็ต้องฝึกฝนบ่อย ๆ 
                การเขียนตัวอักษรจีน ผู้ฝึกควรจะต้องเรียนรู้ความสำคัญของตัวอักษรจีน ก่อนลงมือเขียน โดยเริ่มจากพื้นฐานตามลำดับดังนี้ 
  4.1      เส้นประกอบสำคัญของตัวอักษรจีน มีเส้นหลัก ๆ ในการเขียน ดังนี้
 
1) เป็นจุด (เตี่ยน) 
                 
                            
2) เส้นนอน (เหิง)เส้นขีดจากซ้ายไปขวา





                        

3) เส้นตั้ง (ซู่) เส้นขีดจากบนลงล่าง
 
4) เส้นเฉียงลงซ้าย (เผี่ย)  เส้นขีดเฉียงจากขวาไปซ้าย

5) เส้นเฉียงลงขวา(น่า) ขีดเฉียงจากซ้ายไปขวา

                         
6) ขีดตวัดจากล่างซ้ายขึ้นไปขวา
                         
 
 7) เส้นลากหักมุม
การฝึกเขียน ควรเขียนวันละไม่ต่ำกว่าหนึ่งหน้ากระดาษต่อเนื่องประมาณ5วัน เมื่อเริ่มเขียนเป็นคำได้แล้วจะเขียนวันละ 2 หน้า จนครบเวลา 1 เดือน
4.2      การจรดพู่กันจีน การจรดพู่กันจีนบนกระดาษ พู่กันที่จุ่มหมึก ควรปาดปลายให้แหลม
และจะต้องค่อยๆ บรรจงจรดปลายพู่กันจีนลงบนกระดาษ จรดโดยมีมุมของเส้นหรือจุดเริ่มต้นที่คมชัด การลากเส้นต้องมีมิติของความหนา-บางที่แสดงถึงศิลปะของการเขียนพู่กัน เวลาเขียนตัวอักษร ต้องมีสมาธิในการเขียนแต่ละลายเส้น เขียนให้จบทีเดียวแล้วค่อยยกปลายพู่กัน ดังตัวอย่าง
 
วิธีการใช้พู่กันที่แตกต่างกัน จะให้คุณภาพการเขียนที่แตกต่างกัน ในการแสดงความ
เบา ความหนัก ความแน่น ความแม่นยำ ความกระด้าง ความสง่างาม และอื่น ๆ การยกพู่กันจะต้องทำอย่างประณีตและสะอาด บางครั้งต้องยกพู่กันเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ขณะที่ปลายพู่กันจะยังคงสัมผัส
กระดาษอยู่ การทำเช่นนี้เป็นประโยชน์ในการเขียนเส้นบาง ๆ อย่างรวดเร็ว ปลายพู่กันเมื่อถูกกดลงบนกระดาษ เส้นหมึกก็จะหนาและหนักมากขึ้น
ตัวอย่างหนังสือที่รวมการเขียนเส้นทั้งหมดไว้ในตัวเดียวกัน
การเขียนพู่กันจีนจะมีเส้นหนักและเบา ต้องลงน้ำหนักมือให้เหมาะถึงจะเขียนตัวหนังสือได้
สวยตัวอย่างขีดที่แสดงให้ดู เส้นด้านในแต่ละขีดแสดงให้เห็นการลงน้ำหนัก (ตรงที่เป็นขีดหรือเส้นหนาใช้วิธีกดพู่กันลง เส้นที่เขียนก็จะหนา ส่วนเส้นที่เล็กก็ยกพู่กันให้สูงขึ้น) สังเกตดูเส้นที่ขีดจากบนลงล่างอย่างหมายเลข 3ต้องเขียนเส้นให้ตรงเสมอ แต่เส้นที่ขีดจากขวาไปซ้ายอย่างหมายเลข 5 และ 6 จะเขียนเป็นเส้นเฉียง ด้านซ้ายจะต่ำกว่าด้านขวา และนอกจากจุดและขีดอย่างหมายเลข 1กับ2แล้วทุกตัวจะเริ่มด้วยเส้นหนาและจบด้วยปลาแหลม (เพราะเหตุนี้จึงควรใช้พู่กันที่มีคุณภาพดีสักหน่อย เพื่อเวลาเขียนปลายพู่กันจะไม่รวมกัน ทำให้เขียนเส้นแหลมได้สวย)เวลาเขียนตอนจบให้ยกพู่กันแล้วสะบัดปลายพู่กันเล็ก ๆ เส้นก็จะเรียวแหลมสวย นอกจากนี้ยังมีเส้นที่เขียนยากคือเส้นหมายเลข3ที่ปลายเส้นเป็นตะขอและเส้นลากหักมุม เส้นที่เป็นตะขอต้องต้องกดพู่กันให้เส้นหนาขึ้น แล้วยกพู่กันสะบัดปลายพู่กันขึ้นหรือลงให้ปลายเรียวแหลม  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น